รัดยางริดสีดวง เจ็บไหม? เป็นกี่วันหาย? ใครเหมาะกับการรักษาด้วยวิธีนี้?
รัดยางริดสีดวง
คนที่ป่วยมีอาการของริดสีดวงหลายคนที่เข้าใจผิด ว่าการไปพบแพทย์เพื่อรักษานั้นจะต้องทำการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว จึงทำให้ไม่กล้าตัดสินใจไปโรงพยาบาล เพราะกังวลว่าจะมีค่าผ่าตัดที่สูง ทั้งที่จริงๆ แล้วการรักษาริดสีดวงนั้นไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป (ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของแต่ละคน) เพราะสำหรับในบางคนนั้นแพทย์ก็จะแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาด้วยการรัดริดสีดวงแทนการผ่าตัด ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไร ศึกษาได้จากหัวข้อด้านล่างต่อไปนี้
การรัดยางริดสีดวง คืออะไร?
การรัดยางริดสีดวง (Rubber band ligation) คืออีกหนึ่งวิธีในการรักษาริดสีดวง ด้วยการรัดหนังยางที่บริเวณติ่งริดสีดวง เพื่อช่วยตัดวงจรเลือดไม่ให้มีการส่งไปยังหัวเนื้อเยื่อที่อยู่ตรงบริเวณทวารหนัก ซึ่งประกอบไปด้วยหลอดเลือดและเยื่อบุที่ยืดหยุ่น มีหน้าที่ช่วยบุกล้ามเนื้อให้หูรูดเล็กลงและช่วยกลั้นอุจจาระให้สนิท โดยยางรัดริดสีดวงจะรัดที่ขั้วริดสีดวงซึ่งจะอยู่เหนือ Dentate Line ประมาณ 1 เซนติเมตร โดยใช้เวลาประมาณ 3-10 ซึ่งจะทำให้หัวของริดสีดวงฝ่อเล็กลงและหลุดออกไปภายใน 1-2 สัปดาห์
การรักษาด้วยการรัดยางริดสีดวง เหมาะกับใคร?
การรักษาริดสีดวงด้วยการรัดยางไม่ได้เหมาะสำหรับผู้ป่วยทุกคน โดยเฉพาะผู้ป่วยริดสีดวงที่มีอาการรุนแรง หรือผู้ที่มีอาการอักเสบปวดบวมมาก เพราะการรักษาริดสีดวงด้วยการรัดยางอาจทำให้รู้สึกเจ็บมากกว่าเดิม ดังนั้นการรัดยางริดสีดวงจึงเหมาะกับคนบางกลุ่มเท่านั้น เช่น
- เหมาะสำหรับคนที่เป็นริดสีดวงในระยะที่ 1-2
- เหมาะกับผู้ป่วยกลุ่มคนวัยกลางคน อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้น และมีอายุไม่เกิน 50 ปี
- เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการผ่าตัดริดสีดวง
- เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นริดสีดวงภายในที่มีขั้วยื่นออกมาและมีขนาดเหมาะสมในการรัด
- เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นริดสีดวงภายนอก ที่ก้อนริดสีดวงมีขนาดพอที่จะรัดได้
รัดยางริดสีดวงมีกี่แบบ?
การรัดยางริดสีดวงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด นั่นคือ ชนิดที่เป็นภายใน และ ชนิดที่เป็นภายนอก
- รัดยางริดสีดวงภายใน : จะนิยมใช้กับผู้ป่วยที่มีติ่งริดสีดวงไม่บวมมากนัก และมีขนาดพอที่จะทำการรัดให้แน่นได้ โดยการใช้เครื่องยิงหนังยางขนาดเล็กเพื่อทำการรัดริดสีดวงทวาร แต่คุณหมอจะไม่แนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเลือดออกมาก เพราะได้เกิดผลข้างเคียงได้
- รัดยางริดสีดวงภายนอก : แพทย์จะทำการรัดติ่งเนื้อชนิดที่เป็นภายนอก ที่มักเกิดขึ้นตรงบริเวณปากรอยย่นของทวารหนัก ซึ่งริดสีดวงชนิดนี้สามารถมองเห็นและลูบคลำได้ จึงสามารถทำการรัดได้ง่ายกว่าริดสีดวงภายใน แต่แพทย์จะไม่ค่อยแนะนำให้ใช้วิธีนี้กับริดสีดวงภายนอก เนื่องจากจะทำให้ปวดมาก
วิธีรัดยางรีสีดวง ด้วยตัวเอง?
การรัดริสีดวงสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยไม่เป็นอันตราย แต่จะต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ซึ่งวิธีการรัดริดสีดวงด้วยตัวเองสามารถทำได้ดังนี้
- เริ่มจากเช็ดเพื่อทำความสะอาด บริเวณแผลให้ทั้งหมดจด เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสิ่งสกปรก
- ควรทาเจลเพื่อให้สามารถสอดใส่เครื่องมือเข้าไปเพื่อช่วยรัดยางได้ง่ายขึ้น โดนทำการรัดข้างละ 2 ครั้ง
- หลังจากทำการรัดยางริดสีดวงเสร็จแล้ว อาจจะรู้สึกปวดหน่วงๆ ตรงบริเวณท้องเหมือนอยากขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา ให้กลั้นเอาไว้ห้ามเอ่งออกมา
- เช็คทำความสะอาดอีกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จากนั้นประมาณ 2-3 วัน อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้น
ตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการรัดยางริดสีดวง
การรัดริดสีดวงที่ถูกต้องควรรัดที่ขั้วริดสีดวง ซึ่งจะอยู่เหนือ dentate line ประมาณ 1 ซม. เพื่อให้หัวริดสีดวงหลุดออกได้หมด
รัดยางริดสีดวง เจ็บไหม?
การรัดยางเป็นการรักษาที่ไม่ได้ให้ความรู้สึกเจ็บมาก อย่างที่หลายคนกังวล แต่จะรู้สึกหน่วงประมาณ 1-3 วัน เหมือนปวดท้องถ่าย หรืออาจมีการระคายเคืองหรือรู้สึกเจ็บปวดบ้างได้ในช่วง 2-4 วันแรก ซึ่งการรักษาริดสีดวงด้วยการใช้ยางรัดจะช่วยทำให้ติ่งริดสีดวงฝ่อเล็กลงหดกลับไปยังระยะ 1 หรือหลุดออกมาเอง โดยที่ไม่ต้องเสียเลือด และไม่ต้องเย็บแผล แต่หลังจากใช้ยางรัดริดสีดวง ในช่วง 3-7 วัน อาจจะมีเลือดออกภายบ้างเล็กน้อย และจะค่อยๆหยุดไปเอง
ข้อควรระวังในการรัดยางริดสีดวง
การรัดยางให้หัวริดสีดวงเป็นการรักษาริดสีดวงอีกอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ติ่งริดสีดวง และพังผืดที่เกิดจากแผลจะรั้งริดสีดวงหลุดออกไปโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด และช่วยให้ที่เหลือให้หดกลับเข้าไปในทวารหนักได้เอง แต่มีข้อระวังดังต่อไปนี้
- ไม่ควรทำในคนไข้อยู่ในภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ
- ไม่ควรทำในคนไข้ที่ภาวะการแข็งตัวของเลือดทำงานผิดปกติ
ยางรัดริดสีดวง มีลักษณะอย่างไร ซื้อได้ทีไหน?
ยางรัดริดสีดวงจะเป็นยางเส้นๆขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นวงกลม ซึ่งจะให้ความยืดหยุ่นสูงและ ทำมาจากยางพารา นิยมนำมาใช้ในรัดสิ่งเล็กๆเช่น ใช้ในการช่วยรักษาโรคริดสีดวง รวมถึงการนำมาใช้รัดอวัยวะเพศเพื่อทำหมันสัตว์ได้อีกด้วย สามารถหาซื้อได้ตามโรงพยาบาลและร้านขายยาชั้นนำทั่วไป
หลังรัดยางริดสีดวง ดูแลตัวเองอย่างไร?
หลังจากทำหัตถการรัดยางริดสีดวง ในช่วง 2-3 วันแรก อาจจะรู้สึกเจ็บหน่วงๆ แน่นๆ และอึดอัดตรงบริเวณทวาร ทำให้มีการผายลมและขับถ่ายอุจจาระไม่สะดวก ซึ่งหลังการรัดยางริดสีดวงจึงควรดูแลตัวเองดังต่อไปนี้
- หากขับถ่ายยาก หรือถ่ายไม่ออกแนะนำให้ใช้ยาระบายอ่อนๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องออกแรงเบ่งอุจจาระ
- ควรออกกำลังกายแบบเบาๆ เพื่อให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว และทำงานได้ดียิ่งขึ้น
- ควรดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เพื่อป้องกันอุจจาระเป็นก้อนแข็ง
- ควรใช้ครีมหรือยาทาบริเวณที่มีการรัดยางตามคำสั่งแพทย์
- ห้าม เบ่ง หรือ กลั้นหายใจ ในขณะขับถ่ายอุจจาระโดยเด็ดขาด
- ห้ามนั่งอุจจาระนานเกินไป เพื่อลดการเกิดแรงดันที่หลอดเลือด
- ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก 1 สัปดาห์
- มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการ
ผลข้างเคียงของการรัดยางริดสีดวงมีอะไรบ้าง
1. ในขณะการรัดยางอาจทำให้รู้สึกเจ็บมาก หากรู้สึกทนไม่ไหวให้เอาที่รัดออกทันที
2. อาจรู้สึกระคายเคือง ปวดถ่วงในทวารหนักหลังการรัด หรือมีเลือดออกเมื่อหัวริดสีดวงหลุด
3. หัวริดสีดวงอาจอักเสบ บวม เจ็บ และย้อยออกมาได้
4. ผู้ป่วยอาจมีภาวะติดเชื้อบริเวณทวารหนัก จนมีไข้สูง และปัสสาวะไม่ออก และมีอาการปวดบริเวณทวารหนัก ซึ่งถือเป็นผลข้างเคียงที่รุนแรงควรรีบเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
รัดยางริดสีดวงควบคู่กับการทานยารักษาริดสีดวง?
การรักษาริดสีดวงด้วยการรัดยางสามารถทำควบคู่ไปกับการทานยารักษาริดสีดวงได้ เพื่อให้การรักษาเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการทานยาจะช่วยทำให้ติ่งริดสีดวงฝ่อเล็กลงได้อย่างรวดเร็ว ลดการอักเสบของริดสีดวง และปรับลำไส้ลำไส้ทั้งระบบจึงสามารถป้องกันไม่ทำให้ริดสีดวงกลับมาได้อีกอีกด้วย
สรุป
การรัดยางริดสีดวงเป็นหัตถการที่ใช้ยางรัดตรงบริเวณฐานของก้อนริดสีดวง เพื่อทำให้ไม่สามารถมีเลือดไปช่วยเลี้ยงก้อนริดสีดวงได้ ซึ่งโดยปกติจะทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และเพื่อให้มีขั้นตอนในการทำที่ถูกต้อง เพื่อให้ก้อนริดสีดวงที่ฝ่อตัวลงแล้ว ยางที่ใช้รัดก็จะหลุดออกมาพร้อมกับการขับถ่ายอุจจาระ แต่สำหรับใครที่ไม่กล้าไปพบแพทย์ ก็สามารถรัดยางริดสีดวงด้วยตัวเองได้เช่นกัน แต่ต้องทำด้วยความสะอาด โดยศึกษาวิธีรักษาริดสีดวงการอย่างละเอียด และทำตามคำแนะนำขั้นตอน
อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/การรัดหนังยาง