เปรียบเทียบอาการ ฝีคัณฑสูตร กับ ริดสีดวง ต่างกันอย่างไร?
โรคริดสีดวงกับโรคฝีคัณฑสูตร ถือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับทางทวารหนักเหมือนกับ และในบางทีก็อาจจะมีอาการทีที่คลายกันจนหลายคนสับสน แยกไม่ออกว่าแท้ที่จริงแล้วตัวเองเป็นโรคริดสีดวง หรือเป็นโรคฝีคัณฑสูตรกันแน่ ซึ่งทั้ง 2 โรคนี้ต่างก็เป็นโรคที่อยู่ใกล้ตัวและสามารถสร้างผลกระทบต่อคุณภาพการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้ ดังนั้นเพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ก่อนอาการต่างๆของโรคจะลุกลามและรุนแรงขึ้น คุณจึงไม่ควรพลาดกับบทความนี้
ทำความรู้จักกับโรคฝีคัณฑสูตรและโรคริดสีดวง
โรคฝีคัณฑสูตร หรือ (Anal Fistula หรือ Fistula – in – ano) เป็นโรคติดเชื้อทางทวารหนักระยะเรื้อรัง ซึ่งอาจมีส่งผลทำให้มีเลือดออก บวมแดง รู้สึกปวดแสบ คัน มีหนองไหล มีตุ่มขึ้นที่ทวาร บริเวณแก้มก้น หรือรอบปากทวารหนัก ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อของต่อมผลิตมูก (Anal Gland) บริเวณทวารหนัก ซึ่งชนิดของฝีคัณฑสูตรสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
- ฝีคัณฑสูตรชนิดที่อยู่ตื้นหรือไม่ซับซ้อน (Simple Fistula) ซึ่งฝีคัณฑสูตรชนิดนี้จะมีการเชื่อมต่อระหว่างรูทวารกับผิวหนังเพียง 1 ทาง
- ฝีคัณฑสูตรชนิดที่ลึกหรือมีความซับซ้อน (Complex Fistula) เป็นฝีคัณฑสูตรที่มีความเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหูรูดทวารกับอวัยวะข้างเคียงหรือมีการเชื่อมโยงกับผิวหนังหลายทาง
ริดสีดวงทวาร หรือ (Hemorrhoids) โรคที่เกิดเส้นเลือดบริเวณทวารหนักและลำไส้ตรงส่วนล่างหลอดเลือดดำบริเวณปลายสุดของลำไส้ใหญ่เกิดการโป่งพองมีขนาดใหญ่เหมือนเส้นเลือดขอด ขอบรูทวารหนักและยื่นออกมา ซึ่งอาจทำให้มีอาการเลือดไหลระว่างการขับถ่าย เจ็บปวด บวม และมีติ่งริดสีดวงโผล่ออกมานอกขอบทวารหนัก ซึ่งริดสีดวงทวาร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
- ริดสีดวงทวารชนิดภายใน (Internal Hemorrhoids) เป็นริดสีดวงทวารที่ไม่มีหัวโผล่ออกมาให้สัมผัสเจอ ไม่ทำให้เกิดความเจ็บหากยังไม่มีอาการแทรกซ้อน ซึ่งริดสีดวงชนิดนี้จะมีทั้งหมด 4 ระยะ โดยแต่ละระยะจะมีอาการหรือความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป
- ริดสีดวงทวารชนิดภายนอก (External Hemorrhoids) เป็นริดสีดวงที่เกิดขึ้นจากหลอดเลือดบริเวณปากรอยย่นของทวารหนักโป่งพอง ซึ่งอยู่ใกล้กับขอบทวารจึงสามารถสัมผัสได้ และริดสีดวงชนิดนี้มักให้ความรู้สึกเจ็บปวด เนื่องจากผิวหนังมีปลายประสาทที่รับความรู้สึก
อาการของโรคฝีคัณฑสูตรและโรคริดสีดวง
ถึงแม้ว่าโรคฝีคัณฑสูตรและโรคริดสีดวงจะมีอาการที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันหมดซะทีเดียว ซึ่งอาการหลักๆที่เห็นได้ชัดเจนของทั้ง 2 โรคมีดังนี้
อาการโรคฝีคัณฑสูตร
- มีเลือด น้ำเหลือง หรือหนองไหลซึม ออกมาจากผิวหนังที่มีแผลบริเวณรูทวาร ทำให้ก้นแฉะ เละเกิดการอับชื้น
- มีอาการคันที่ก้นหรือบริเวณผิวหนังรอบทวารหนัก
- มีอาการเจ็บปวดบวมบริเวณแก้มก้น หรือบริเวณรอบทวารหนัก
- มีตุ่มฝีขึ้นที่ก้น หรือบริเวณขอบทวาร
อาการโรคริดสีดวงทวาร
- มีเลือดออกหลังการขับถ่าย เลือดติดกระดาษชำระ หรือมีเลือดปนมากับอุจจาระโดยไม่รู้สึกเจ็บปวด
- มีความรู้สึกหนักบวมที่บริเวณทวารหนัก เนื่องจากหลอดเลือดภายในมีอาการบวมมาก
- มีหัวริดสีดวงหรือก้อนเนื้อนิ่มๆโผล่มานอกขอบทวาร ซึ่งอาจทำให้มีอาการเจ็บปวด โดยเฉพาะเวลาที่เกิดการอักเสบ
- มีอาการระคายเคือง คัน รอบบริเวณทวารหนัก
อ่านต่อเพิ่มเติม : 4 สัญญาณบอก ริดสีดวงอาการเริ่มแรก เป็นอย่างไร?
ข้อแตกต่างระหว่างฝีคัณฑสูตร VS ริดสีดวงมีอะไรบ้าง
ฝีคัณฑสูตร | ริดสีดวง |
---|---|
มีเลือดซึมที่บริเวณทวาร | มีเลือดออกขณะขับถ่าย |
มีน้ำเหลืองซึมออกจากแผล และมีฝีหนอง | ไม่มีหนองไหลจากจากทวาร |
มีไข้ | ไม่มีไข้ |
ไม่มีหัวหรือติ่งเนื้อยื่นออกมา | มีหัวริดสีดวง หรือติ่งเนื้อยื่นออกมา |
แม้จะไม่ได้ขับถ่ายก็รู้สึกเจ็บปวดบริเวณทวารหนักตลอดเวลา | รู้สึกเจ็บปวดทวารหนักในขณะขับถ่าย |
โอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำมีน้อยมาก | เมื่อหายแล้วมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ |
ไม่สามารถหายเองได้เอง ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ | สามารถหายได้ด้วยตัวเอง |
สามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ | ไม่ใช่โรคติดต่อ |
แนวทางการรักษาฝีคัณฑสูตรและการักษาริดสีดวง
การรักษาฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula) สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้อต้นแล้วพบว่ามีอาการของฝีคัณฑสูตรจะต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ด้วยวิธีต่างๆที่เหมาะสมภายใต้การพิจารณาจากแพทย์ ดังนี้
- LIFT Procedure (Ligation of Intersphincteric Fistula Tract) เป็นวิธีการผ่าตัดรักษาที่บริเวณระหว่างชั้นของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักเพื่อคล้องเอาทางเชื่อมต่อ (Fistula Tract) โดยไม่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักได้รับบาดเจ็บ
- Fistulotomy การใช้มีดหรือจี้ไฟฟ้าเพื่อเปิดทางเชื่อมต่อ (Fistula Tract) เหมาะกับผู้ป่วยฝีคัณฑสูตรชนิดไม่ซับซ้อน
- Seton Ligation วิธีนี้เป็นการผ่าตัดโดยใช้เชือก (Seton) ผูกท่อที่เชื่อมฝีคัณฑสูตรไว้ให้แน่น โดยไม่ตัดหูรูด เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อน (Complex Fistula)
- Fistulectomy คือ การตัดเอาส่วนของทางเชื่อมต่อทางเดินทวารออกทั้งหมด ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการกลั้นอุจจาระหลังการผ่าตัดได้
การรักษาริดสีดวง (Hemorrhoids) สำหรับโรคริดสีดวงเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยตัวเองก่อนการพบแพทย์ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรคร่วมด้วย ซึ่งวิธีที่มักได้รับความนิยมนำมาใช้ในการรักษาริดสีดวงทวารได้แก่
- การทายาริดสีดวง เป็นการใช้ตัวยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ทาที่บริเวณริดสีดวง เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ ลดความเจ็บและช่วยบรรเทาอาการคันรอบทวาร แต่หากใครที่ไม่ไม่สะดวกใช้ยาชนิดครีมก็สามารถใช้เป็นสเปรย์น้ำแร่สมุนไพรริดสีดวงแทนได้เช่นกัน
- การใช้ยาเหน็บ การใช้ยาเหน็บเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นริดสีดวงภายใน หรือผู้ที่ยังไม่มีอาการหนัก ซึ่งวิธีนี้จะทำโดยการสอดขี้ผึ้งขนาดเล็กที่เคลือบตัวยาเอาไว้เข้าไปที่รูทวาร เพื่อให้ตัวยาซึมเข้าไปสู่ผิว ช่วยลดการไหลของเลือด ลดอาการอักเสบต่างๆ
- การทานยา การทานยาริดสีดวงสูตรต้นตำหรับยาสมุนไพรโบราณ” อันโดะ” ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรเข้าข้นกว่ายี่ห้ออื่นถึง 10 เท่า จะช่วยให้สามารถรักษาอาการของริดสีดวงได้จากต้นตอ พร้อมปรับระบบให้ลำไส้และหลอดเลือดให้แข็งแรง ไม่ทำให้กลับมาเป็นริดสีดวงซ้ำอีก
- รักษาความสะอาด การรักษาบริเวณของริดสีดวงให้สะอาดอยู่เสมอ จะช่วยลดอาการอับเสบของริดสีดวง และป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ลดอาการแสบร้อน นอกจากนี้ยังทำให้ผิวบริเวณทวารหนักรู้สึกสะอาด เย็นสบายขึ้นอีกด้วย
- การใช้ยางรัด เป็นการทำหัตถการโดยแพทย์โดยการใช้ยาที่มีขนาดเล็กรัดที่บริเวณฐานของก้อนริดสีดวงทวาร เพื่อทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงที่ก้อนริดสีดวงได้ จนทำให้ก้อนริดสีดวงค่อยๆฝ่อและหลุดออกมา (วิธีนี้จะต้องทำกับริดสีดวงที่มีหัวขนาดใหญ่พอที่จะรัดได้)
- การจี้ด้วยไฟฟ้า เป็นการใช้เลเซอร์ หรืออินฟราเรด ยิงไปที่หัวริดสีดวง เพื่อให้หัวริดสีดวงหลุดออกมาโดยที่คนไข้ไม่ต้องทำการผ่าตัด และช่วยลดการเลียเลือด เหมาะกับริดสีดวงที่มีขนาดเล็ก
- การผ่าตัดริดสีดวง เป็นการทำโดยศัลยแพทย์เฉพาะทาง โดยการผ่าตัดเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวริดสีดวงเพื่อทำให้เนื้อเยื่อยุบลง ซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยริดสีดวงที่มีอาการรุนแรง และหัวริดสีดวงที่ขนาดใหญ่
อ่านต่อเพิ่มเติม : 10 วิธีรักษาริดสีดวงแบบธรรมชาติ ด้วยตัวเอง ให้หายเร็ว โดยไม่ผ่าตัด
โรคฝีคัณฑสูตรและโรคริดสีดวงสามารถป้องกันได้หรือไม่
โรคฝีคัณฑสูตรและโรงริดสีดวง เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับทวารหนัก ที่สามารถป้องกันและลดโอกาสของการเกิดโรคให้น้องลงได้
โรคฝีคัณฑสูตรเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ดังนี้
- เลือกรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง และดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ระบบย่อยของลำไส้และระบบการขับถ่ายทำงานได้ดี
- ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาเพื่อเลี่ยงอาการท้องผูก
- หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
โรคริดสีดวงสามารถป้องกันได้ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงและดื่มน้ำมากๆอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วขึ้นไป
- ออกกำลังกายเบาๆให้ละไส้มีการเคลื่อนไหว (หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายประเภทเวทเทรนนิ่ง )
- การขับถ่ายให้เป็นเวลา และไม่นั่งแช่ในห้องน้ำนานๆ
ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาฝีคัณฑสูตรกับริดสีดวง
โดยปกติแล้วริดสีดวงทวารเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้เอง ระยะเวลาการรักษาจะขึ้อยู่กับความรุนแรงของโรค ซึ่งโดยส่วนมากจะเริ่มเห็นผลการรักษาใน 7-10 วัน และหากเป็นการรักษาด้วยการผ่าตัด แผลจะหายเป็นปกติภายในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน แต่ฝีคัณฑสูตรเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายเองได้ และหลังการผ่าตัดอาจใช้เวลาถึง 3 เดือน กว่าแผลจะหายได้สนิท
สรุป
ทั้งหมดนี้เป็นอาการความแตกต่างของฝีคัณฑสูตรและริดสีดวง ที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถแยกประเภทของการรักษาได้อย่างถูกต้อง แต่สำหรับใรที่ยังไม่แน่ใจ หรือเกิดความกังวลใจกลัวรักษาไม่ถูกต้องตามอาการ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างแม่นยำอีกครั้ง