ถ่ายเป็นเลือด นอกจากริดสีดวง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง มีวิธีสังเกตและรักษาอย่างไร?
การขับถ่ายที่หลายคนมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่อาจจะบ่งบอกถึงการมีปัญหาของสุขภาพตามมา ถ้าหากวันหนึ่งถ่ายเป็นเลือด และ มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ หรือมีเลือดหยดตามมาหลังการขับถ่าย ซึ่งอาจทำให้หลายคนเกิดความวิตกกังวลว่า ถ่ายเป็นเลือดจะทำให้เป็นโรคที่ร้ายแรงอย่างมะเร็งลำไส้ได้หรือไม่ หรือการถ่ายเป็นเลือดที่มาจากอาการของโรคริดสีดวงกันแน่ ซึ่งในบทความนี้เราได้มีการรวบรวมหาสาเหตุ แนวทางและวิธีการรักษาการถ่ายเป็นเลือดไว้อย่างละเอียด จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
ทำความรู้จัก “ถ่ายเป็นเลือด” คืออะไร?
การถ่ายอุจจาระเป็นเลือด คือ การที่มีเลือดปะปนออกมาในขณะการขับถ่าย หรือบางครั้งอาจถ่ายอุจจาระออกมาแล้วมีเลือดหยดตามหลัง ซึ่งสามารถมองเห็นและรับทราบได้อย่างชัดเจน เพราะอุจจาระเป็นสีแดงต่างไปจากสีปกติ ซึ่งการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นอีกหนึ่งอาการของหลายๆ โรคที่ไม่ใช่แค่โรคริดสีดวงเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากพบว่ามีการถ่ายเป็นเลือดจึงควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาที่ตรงจุด
อาการถ่ายเป็นเลือด เบื้องต้น-รุนแรงเป็นอย่างไร?
อาการถ่ายเป็นเลือดถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการของหลายๆโรค ซึ่งอาการถ่ายเป็นเลือดมีหลายระยะด้วยกันคือ
อาการถ่ายเป็นเลือดเบื้องต้น ที่ยังไม่มีอาการรุนแรง อาจจะมีอาการเป็นๆหายๆ ถ่ายเป็นเลือดหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระแต่ไม่มีอาการเจ็บแต่อย่างใด ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงการบาดเจ็บที่อวัยวะในระบบย่อยอาหารอย่างลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง และ ทวารหนัก ได้ โดยการถ่ายเป็นเลือดอาจเป็นการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยยังไม่เป็นอันตรายร้ายแรง สามารถทำการรักษาได้ด้วยตัวเอง
อาการถ่ายเป็นเลือดรุนแรง สัญญาณอันตรายของปัญหาสุขภาพซึ่งมักมีอาการถ่ายเป็นเลือดเหมือนเป็นประจำเดือน รวมกับอาการอื่นๆ ดังนี้
- ท้องผูกหรือท้องร่วง
- รู้สึกเจ็บปวดในขณะการถ่ายอุจจาระ
- อุจจาระเป็นก้อนแข็ง
- รู้สึกปวดเกร็งบริเวณท้อง
- มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด
- คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ
- มีอาการหน้ามืด คล้ายจะเป็นลม
- หายใจลำบาก ใจสั่น
- หน้าซีด ตัวซีด จากการเสียเลือดมาก
- โลหิตจางจากการเสียเลือดเรื้อรัง
- มีภาวะความดันโลหิตต่ำ
- เกิดภาวะช็อคจากการเสียเลือดมาก
สาเหตุการถ่ายเป็นเลือด เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง?
การขับถ่ายออกมาเป็นเลือด มักมีผลมาจากการเกิดความผิดปกติภายในระบบทางเดินอาหาร หรือ อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่ายได้รับความเสียหา หรือมีบาดแผลที่เส้นเลือดดำส่วนปลายทวาร มักมีสาเหตุได้แก่
1. โรคริดสีดวงทวารหนัก
การถ่ายเป็นเลือด มักเป็นอาการหลักของโรคริดสีดวงทวาร ซึ่งเกิดจากการมีพฤติกรรมนั่งห้องน้ำนาน หรือเบ่งอุจจาระแรงๆเป็นประจำ เนื่องจากท้องผูก หรือ ท้องเสียเป็นประจำ ทำให้เส้นเลือดดำที่ปลายทวารมีอาการโป่งพองทำให้เกิดเป็นตุ่มริดสีดวงขึ้นได้ ซึ่งริดสีดวงสามารถแบ่งออกเป็น 2 นะเภทคือ
- แบบที่ 1 เรียกว่า ริดสีดวงทวารภายใน : ริดสีดวงทวารภายใน จะไม่โผล่ติ่งริดสีดวงโผล่ออกมาไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใดๆ แต่อาจทำให้ มีเลือดออกในขณะการขับถ่ายได้
- แบบที่ 2 เรียกว่า ริดสีดวงทวารภายนอก : ริดสีดวงทวารภายนอกนี้ เกิดจากหลอดเลือดดำที่โปร่งพอง และมีติ่งริดสีดวงโผล่ออกมา ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด และอาการคันริดสีดวงที่รูทวาร มีเลือดไหลในขณะขับถ่าย
ซึ่งอาการของริดสีดวงสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่
- ระยะที่ 1 เป็นระยะที่เส้นเลือดมีอาการโป่งพอง อาจจะอยู่ด้านในหรือด้านนอก ขณะที่อุจจาระมักจะมีเลือดปนออกมาด้วย
- ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ขนาดของเส้นเลือดที่พอง มีขนาดที่โตขึ้นกว่าระยะแรก มีติ่งเนื้อโผล่ออกมาในขณะขับถ่ายและหดเข้าไปเมื่ออุจจาะระเสร็จเรียบร้อย
- ระยะที่ 3 เป็นระยะที่หัวของริดสีดวงโผล่ออกมาในเวลาขับถ่าย ไม่สามารถหดกลับเข้าไปเองได้ต้องใช้มือช่วยดันเข้าไป
- ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มีติ่งริดสีดวง โพลออกมาตลอดเวลาและไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ติดเชื้อ หรือ ริดสีดวงแตก จะปวดรู้สึกเจ็บแสบ และ มีเลือดไหลไม่หยุด
2. มะเร็งลำไส้ใหญ่
เป็นมะเร็งที่เกิดที่ลำไส้ส่วนปลายของระบบทางเดินอาหาร (Rectal Cancer) พบบ่อยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศทั่วโลกที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งอาการของโรคอาจจะแสดงออกได้หลายแบบ เช่น มีอาการขับถ่ายผิดปกติ ท้องผูก ท้องเสีย อุจจาระไม่สุด ถ่ายมีเลือดสดปนกับอุจจาระ ปวดท้องน้อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เป็นต้น ส่วนมากจะพบมะเร็งบริเวณลำไส้ใหญ่ในช่องท้องมากกว่าลำไส้ ซึ่งสาเหตุของมะเร็งชนิดนี้เกิดจากการรับประทานอาหารไขมันสูงต่อเนื่องเป็นประจำ ไม่มีการรักษาที่หายขาด ทำได้เพียงแค่ตัดเนื้อร้ายออกเพื่อป้องกันการลุกลามของโรค
3. โรคลำไส้ขาดเลือด
เป็นภาวะที่สามารถพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดผิดปกติร่วมด้วย ซึ่งเกิดจากการที่เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงในลำไส้ได้ จนทำให้เซลล์ลำไส้ขาดเลือดและไม่สามารถทำงานได้ เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก จึงทำให้ลำไส้มีอาการเน่าจนมีแบคทีเรีย ในลำไส้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องที่รุนแรง ปวดเกร็งท้อง และ หากในระหว่างปวดท้องมีอาการถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย นั่นแสดงว่ามีอาการรุนแรงและมีความเสี่ยงถึงขั้นวิกฤต อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้
4. เลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้
เกิดจากความผิดปกติบริเวณทางเดินอาหาร อาการของภาวะนี้อาจเริ่มจากอาเจียนออกมาเป็นเลือดก่อน ตามด้วยอาการที่มีการถ่ายเป็นเลือดสด หรือลิ่มเลือดไหลออกมาพร้อมกับอุจจาระ อาจมีมีสดหรือสีแดงเข้มจนเกือบดำ ทีกลิ่นเหม็นคาวมากผิดปกติ แต่ไม่มีอาการปวดแสบทวารหนัก ในบางรายอาจรู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด เหนื่อยง่าย และ อาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งกระเพาะอาหารได้
5. โรคติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่
โรคติ่งเนื้องอกลำไส้ใหญ่ เป็นเนื้องอกที่เกิดจากกรรมพันธุ์ผิดปกติ ติ่งเนื้องอกนี้มีลักษณะกลม สีออกชมพู อาจมีก้อนเดียวหรือหลายก้อนมักพบในผู้ชายมากกว่าเพศหญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี เกิดจากการเจริญเติบโตของก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นที่ผนังลำไส้ใหญ่ สามารถเกิดได้ทุกส่วนของลำไส้ใหญ่ และสามารถพัฒนาเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการแสดงให้เห็นในช่วงแรกแต่อาจถ่ายเป็นเลือดแบบเป็นๆ หายๆจากการถลอกหรือแผลที่ผิวเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ ทำให้มีเลือดเคลือบผิวอุจจาระที่ขับถ่ายออกมา
6. โรคเส้นเลือดในลำไส้ใหญ่ผิดปกติ
เกิดจากในลำไส้ใหญ่มีเส้นเลือดเล็กๆ จำนวนมากผิดปกติ จึงทำให้อุจจาระมีทั้งเลือดสดปนออกมา แต่ไม่แสดงอาการเจ็บปวด และเลือดอาจจะหยุดได้เอง มักพบในผู้สูงอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป แต่หากมีอาการติดต่อกันเป็นเวลานาน แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจสอบดูเพื่อความแน่ใจ เพราะอาการที่เกิดขึ้นอาจมามีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ
7. ลำไส้ใหญ่อักเสบ
ลำไส้อักเสบเกิดจากโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคบิดซึ่งอาการผู้ป่วยมักมีอาการท้องเสียเป็นน้ำ มีไข้ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ถ่ายบ่อย อุจจาระเป็นมูกเลือด และถ่ายเป็นเลือด ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ถูกต้อง
ระดับความรุนแรงของการถ่ายเป็นเลือด
อุจจาระเป็นเลือด อาจเกิดขึ้นจากการขับถ่ายปกติแต่กลับมีเลือดปะปนออกมาได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรสังเกตให้ชัดเจน ว่าคนไข้มีอาการถ่ายอุจจาระออกมาแล้วมีเลือดหยดตามหลัง หรือถ่ายอุจจาระที่มีเลือดปน ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกของหลายๆโรค เช่น โรคริดสีดวง มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคลำไส้ขาดเลือด โรคเลือดออกในกระเพาะอาหาร โรคติ่งเนื้องอกในลำไส้ โรคเส้นเลือดในลำไส้ใหญ่ผิดปกติ และลำไส้ใหญ่อักเสบ ซึ่งการถ่ายเป็นเลือดในแต่ละแบบ จะช่วยให้วินิจฉัยโรคออกมาได้ไม่เหมือนกัน ดังนั้นหากพบว่ามีการอุจจาระเป็นเลือดผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างตรงจุด
แนวทางและวิธีการรักษาถ่ายเป็นเลือด
โดยปกติแล้ว อุจจาระของคนเราที่ขับถ่ายออกมามักมีสีน้ำตาล ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการย่อยอาหารจากน้ำดีในตับ แต่ถ้าหากถ่ายเป็นเลือด ในระบบย่อยอาหารอย่างลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง และทวารหนัก อาจมีการบาดเจ็บ ซึ่งมีแนวทางและวิธีการรักษาดังค่อไปนี้
การห้ามเลือดด้วยตังเอง
สำหรับในกรณีที่มีการขับถ่ายเป็นเลือดใน ปริมาณไม่มาก และ ไม่มีอาการที่รุนแรง หรือ ไม่มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย แนะนำให้มีการปฎิบัติตัว เพื่อเป็นการห้ามเลือดด้วยตัวเองดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีกากใยสูง เช่นผักผลไม้เพื่อป้องกันการเกิดอาการท้องผูก หรือ ท้องร่วง และ ยังช่วยให้ระบบย่อยอาหาร ทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย
- ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณมาก ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อยวันละ1.5-2 ลิตร
- ปรับพฤติกรรมในการขับถ่าย ไม่นั่งแช่ในห้องน้ำนานๆ และ ไม่ปล่อยให้ตัวเองท้องผูกบ่อยๆ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องเป็นประจำ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และ ทำให้เลือดแข็งตัวได้ช้าลง
การรักษาบาดแผลที่ทวารหนัก
อาการถ่ายเป็นเลือดที่เกิดจากการมาแผลบริเวณทวารหนัก ซึ่งเป็นอาการอีกอย่างหนึ่งของโาคริดสีดวง มีวิธีการรักษาได้ดังนี้
- นั่งแช่น้ำอุ่นวันละ 15-30 นาที จะช่วยบรรเทาแผล และริดสีดวงทวารที่เกิดขึ้นได้
- การรักษาความสะอาดบริเวณบาดแผลที่รูทวาร ด้วยสบู่ทำความสะอาด บริเวรริดสีดวงทวารอันโดะ เพื่อช่วยบรรเทาอาการริดสีดวงทวาร ลดการอักเสบ บรรเทาอาการแสบ คัน ลดบวมเเดง ลดการติดเชื้อ และ ช่วยให้แผลเเห้งเร็ว
- สเปรย์น้ำแร่ บรรเทาริดสีดวง อันโดะ เพื่อบรรเทาอาการก็ขายเครื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างวัน และ ลดการเสียดสีของบาดเเผลบริเวณทวาร ที่เกิดจากการนั่ง เดิน
การทานยารักษา
ในกรณีที่มีอาการถ่ายเป็นเลือด ในบางโรคแพทย์อาจมีการจ่ายยาเพื่อรักษาอาการ เช่น ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H. Pylori) ในกระเพาะอาหาร และ ให้ยาต้านการอักเสบเพื่อรักษาการอักเสบในลำไส้ใหญ่ ร่วมด้วย แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องบอกอาการของโรคอย่างละเอียด เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินอาการป่วยได้อย่างถูกต้อง และการให้ยาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
การส่องกล้อง
แพทย์ให้ผู้ป่วยตรวจสุขภาพระบบทางเดินอาหาร โดยการสอดเครื่องมือที่เป็นกล้องชนิดพิเศษเข้าไปเพื่อเช็คสุขภาพลำไส้ หากพบว่าผู้ป่วยมีสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพ ได้เช่น
- ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือมีอาการท้องเสียแบบเรื้อรัง
- มีอาการท้องอืด แน่นท้อง ปวดท้องเป็นๆหาย
- ถ่ายเป็นเลือด มีขนาดของอุจจาระที่เป็นก้อนเล็กลง
- มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด
การผ่าตัด
ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจจะต้อง พิจารณาทำการผ่าตัด เพื่อรักษาอาการที่เกิดขึ้น ด้วยการตัดนำติ่งเนื้องอกออกไป หรือ ผ่าตัดนำเนื้อร้ายจากการป่วยมะเร็งออก และในกรณีที่มีเนื้อเยื่อส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดความเสียหายจากการบาดเจ็บ แพทย์ก็จะทำการตัดส่วนที่มีการอักเสบออกไปด้วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางการรักษาปัญหาถ่ายเป็นเลือด
หากเป็นริดสีดวง ถ่ายเป็นเลือด กินยาอะไร?
หากมีการขับถ่ายเป็นเลือด ที่เกิดจากอาการของริดสีดวง อย่าเพิ่งกังวล เพราะสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยตัวเอง โดยการทานยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคริดสีดวงโดยเฉพาะ เช่น
- เพชรสังฆาต รักษาโรคริดสีดวงทวาร ทั้งภายนอกและภายใน
- ใบมะกา ช่วยระบบย่อยได้ดี ช่วยระบายได้ดี
- โกฐกักกรา ขับลมในลำไส้ รักษาริดสีดวง
- ใบมะขามแขก แก้อาการท้องผูก
- อัคคีทวาร ช่วยให้หัวริดสีดวงยุบ ฝ่อ แห้งลง
สมุนไพรอันโดะ (Ando) มีส่วนผสมของสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการห้ามเลือด สมานแผล ช่วยลดอาการริดสีดวงทวารหนักชนิดมีหัวและไม่มีหัว ช่วยลดความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวรที่มีอาการริดสีดวงทวารหนัก ลดอาการปวด อักเสบ ช่วยให้อุจาระไม่เป็นก้อนแข็ง และ ลดความเจ็บปวดของการถ่ายหนัก
ถ่ายเป็นเลือดอันตรายไหม? เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
อาการถ่ายเป็นเลือดสามารถบ่งบอกปัญหาสุขภาพของเราได้ถ้าหากมีความผิดปกติ เช่น อุจจาระสีดำ คล้ำ แข็ง หรือถ่ายเป็นเลือด โดยมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆร่วมด้วย เช่นปวดท้องรุนแรง มีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร มีอาการหน้ามืด หายใจลำบาก ถือเป็นอาการที่อันตราย แนะนำให้ไปพบแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยอาการของโรค และทำการรักษาต่อไป
สรุป
สำหรับการถ่ายเป็นเลือด อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจสามารถบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ ได้มากกว่าที่คิด ดังนั้นถ้าหากพบว่าการขับถ่ายมีความผิดปกติ เช่น อุจจาระสีดำ คล้ำ เป็นก้อนแข็ง หรือถ่ายเป็นเลือด ให้สำรวจอาการว่าเข้าข่ายของโรคร้ายแรงหรือไม่ และหากไม่มั่นใจควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำ และ แนวทางการรักษาที่ถูกต้อง